วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เหรียญพระนเรศวร พุทธคุณ เหรียญตองโข่

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากจะเป็นพระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่เป็น ‘มหาราช’ ของปวงชน
     ความเกี่ยวพันระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับชนชาติไทใหญ่นั้น มีเรื่องเล่าขานกันว่า
     ‘… เมื่อสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพระเยาว์ ตอนที่ถูกจับไปเป็นเชลยศึกที่กรุงหงสา พระองค์ทรงมีพระสหายเป็นลูกเจ้าฟ้าเมืองไต ชื่อ เจ้าคำก่ายน้อย ซึ่งเป็นเชลยศึกเช่นกัน และเคยสัญญากันว่า อนาคตข้างหน้าทั้งสองพระองค์จะช่วยกันรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองทัพของพม่าด้วยกัน ... คราหนึ่ง เมืองไตถูกกองทัพอังวะบุกเข้าโจมตี ซึ่งขณะนั้นเจ้าคำก่ายน้อยทรงปกครองอยู่ ร้อนถึงสมเด็จพระนเรศวรเมื่อทรงทราบข่าว พระองค์จึงกรีฑาทัพไปช่วยรบ แต่ยังไม่ทันถึง ก็ทรงเสด็จสวรรคตด้วยโรคไข้ป่าเสียก่อน ที่ทุ่งดอนแก้ว เขตเมืองห้างหลวง แขวงเมืองเชียงใหม่ ครั้นเมื่อเจ้าฟ้าคำก่ายน้อยทรงทราบข่าวการสวรรคต พระองค์ทรงหมดกำลังใจ พ่ายแพ้ศึกสงคราม และทรงสิ้นพระชนม์ไปในการสงครามครั้งนั้นเอง ...’
     ส่วนคำว่า “ตองโข่” หรือ "ต๊กโข่" นั้น เป็นภาษาพม่า หมายถึง โจรป่า เป็นคำที่ทหารพม่าใช้เรียกกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่รุ่นแรก หรือ ‘กองทัพเมืองไต’ ของคนล้านนา
     มูลเหตุการณ์สร้าง “เหรียญสมเด็จพระนเรศวรตองโข่ รุ่นแรก” ในราวปี พ.ศ.2502-2503 ฯพณ ฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ นายกรัฐมนตรีของไทยในสมัยนั้นและยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกับ "หนุ่มศึกหาญ" ผู้นำกองทัพเมืองไต (เจ้าฟ้าไทยใหญ่) จัดสร้างเหรียญขึ้นจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มากนัก แล้วแบ่งกันฝ่ายครึ่ง เพื่อมอบให้กับสมาชิกในกลุ่ม เพื่อน้อมนำจิตใจให้ศรัทธาในพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ช่วยรักษา ปกป้อง และคุ้มครองภัย ในการปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่และอันตรายอย่างมาก โดยเชื่อว่าพระบารมีของพระองค์จะปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากคมกระสุนของผ่ายตรงข้าม ซึ่งก็เกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏและเพิ่มพลังศรัทธาแก่กลุ่มเหล่าทหารหาญของกองทัพเมืองไตยิ่งนัก
ชาวไทยแล้ว พระองค์ยังเป็นที่รักเคารพและจงรักภักดีของชาวไทยใหญ่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า อย่างสูง ประหนึ่งองค์พระประมุขของชาวไทยใหญ่อีกด้วย
 เหรียญสมเด็จพระนเรศวรตองโข่ รุ่นแรก ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าประดิษฐานรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชครึ่งพระองค์หันข้าง ล้อมด้วยตัวอักษรไทยใหญ่ ด้านบนอ่านได้ว่า ‘เจ้าฟ้า นเรโสน มหาหร่าจ่า’ แปลว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชา ข้างล่างเป็นปีที่ประสูติถึงปีที่สวรรคต (พ.ศ. 2098-2148) ด้านหลังวางตัวอักษรไทยใหญ่ทั้งหมดเป็นอักษรโบราณ ข้างบนอ่านว่า ‘เจ้าฟ้า นเรโสน มหาหร่าจ่า’ แปลว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชา ตรงกลางเหรียญอ่านว่า ‘ไหล้ ปื๋น อ่า หน่า กู้ จ้าด’ ‘ตี้ ปาง กิง เมิง หาง’ (มุงคิง) แปลว่า ได้เผยอาชญากู้ชาติ ที่ปางกงเมืองหาง ขอพลานุภาพของสมเด็จพระนเรศวนมหาราชคุ้มครอง ข้างล่างเป็นปีที่พระองค์ทรงประกาศอิสรภาพ (พ.ศ.2127)
     เหรียญนี้ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษกถึง 2 วาระ โดยพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังมากมายที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในยุคนั้น วาระแรก ที่วัดราชบพิธสถิตสีมาราม กรุงเทพฯ วาระที่ 2 ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก (วัดใหญ่ ) นอกจากนี้ยังได้ประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระราชวังจันทน์ ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติอีกด้วย
     เหรียญสมเด็จพระนเรศวรตองโข่ รุ่นแรก นับเป็นเหรียญดัง หายาก และเป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งในวงการพระเครื่องภาคเหนือ เพราะเป็นเหรียญที่มีพุทธคุณสูงส่งเป็นที่ประจักษ์ในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี จำนวนจัดสร้างไม่มาก

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เหรียญพระนเรศวร 2512

เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่นฉลองเมืองงาย ปี๒๕๑๒ หรือเรียกสั้นๆ ว่าพระนเรสวรเมืองงาย

 ในหลวงทรงเสด็จเททองฯ พิธีใหญ่วัดพระสิงห์ฯ จังหวัดเชียงใหม่
พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลวัดพระสิงห์ปี 2512การสร้างพระเครื่องพระบูชา ณ.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2512 มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในภาคเหนือ
-มีการสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์นเรศวรเมืองงาย และเหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราชฯลฯ
การประกอบพุทธาภิเษกครั้งนั้น พันตำรวจเอกนิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น ประธานคณะกรรมการจัดสร้างฯ ได้กราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันเสร็จทรงเป็นประธานในพิธีเททองครั้งนี้
พร้อมกันนี้ได้มีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ร่วมพิธีนั่งปรกปลุกเสกอีกด้วย

รายนามพระเกจิอาจารย์ ที่ร่วมในพิธีพุทธาษิเษก
1. หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี นครศรีธรรมราช
2. พระเทพวิสุทธิเมธี(เจีย) วัดพระเชตุพน กทม.
3. พระครูวิริยะกิติ(โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
4. พระครูโสภณกัลยาณมิตร(เส่ง) วัดกัลยานิมิตร กทม.
5. พระครูปลัดสงัดคณิสสโร วัดพระเชตุพน กทม.
6. หลวงพ่อก๊ก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี
7. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา
8. หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
9. หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ อยุธยา
10. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตรา อยุธยา
11. พระครูพิพัฒน์สิริธร(หลวงพ่อคง) วัดบ้านสวน พัทลุง
12. พระอาจารย์ชินะวโรภิกขุ(หลวงพ่อนำ) วัดดอนศาลา พัทลุง
13. หลวงพ่อเล็ก วัดดินแดง นครปฐม
14. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์ ลพบุรี
15. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
16. พระครูวิสัยโสภณ(หลวงพ่อทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี นอกจากท่านจะมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้แล้ว ยังได้มอบพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี 2506 มอบให้แก่ทางวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อมร่วมทำบุญกุศลอีกด้วย
17. หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพศักดิ์ สมุทรสงคราม
18. หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี
19. หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง พิจิตร
20. หลวงพ่อจ้อน วัดเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร
21. พระวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
22. พระอาจารย์สมคิด วัดรังโฆษิตาราม สุพรรณบุรี
23. พระราชมุนี วัดปทุมวนาราม กทม.
24. พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม กทม.
25. พระครูพุทธิวัฒน์ วัดธรรมจักร พิษณุโลก
26. พระครูอภัยจริยานิยม(ตุ้ย) วัดใหม่ พิษณุโลก
27. ครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
28. พระราชวิสุทธิ วัดสวนดอก ลำปาง
29. พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง ลำปาง
30. พระอาจารย์ชุม วัดเกาะ ลำปาง
31. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
32. พระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดาราม กทม.
33. พระครูพิพัฒน์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม กทม.
34. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดา กทม.
35. พระพิธีธรรม 4 รูป วัดราชนัดดา กทม.
36. พระพิธีธรรมรามัญ 4 รูป วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
37. พระพิธีธรรม ภาคพายัพ สำนักจังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่ฯลฯ
-เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.7 ซม. สร้างขึ้น จำนวน 100,000 เหรียญ
การสร้างพระเครื่องพระบูชา ณ.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2512
มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในภาคเหนือ วัดถุมงคลที่สร้างขึ้นทุกอย่างได้รับความนิยม จากประชาชนอย่างล้นหลาม
โดยระยะเวลาเพียง 15 วันที่เปิดให้เช่าบูชาก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี จนคณะกรรมการต้องปิดงดการให้เช่า
วัตถุมงคลส่วนหนึ่งมอบให้ทหารกับตำรวจที่ปฏิบัติราชการชายแดน
และอีกส่วนหนึ่งได้นำไปบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย
เป็นเหรียญประสบการณ์สูง...พิธีดียิ่งใหญ่..พุทธคุณเยี่ยม.